วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Nephron

ส่วนประกอบของเนฟรอน



Nephron ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

1. Renal copuscle

2. ท่อไต (Tubule)

Renal corpuscle นับเป็นส่วนต้นของเนฟรอน เลือดที่เข้ามาในไตจะถูกกรองที่นี่ ต่อจากส่วนนี้จะมีลักษณะเป็นท่อ(tubule)

:ที่จะนำของเหลวที่ถูกกรองออกมา ขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะต่อไป ของเหลวขณะที่ไหลผ่านไปตามท่อไตจะมีการเปลี่ยนแปลง

ในองค์ประกอบเกิดขึ้น โดยกระบวนการดูดกลับ(reabsorption) และการขับออก (secretion) โดยท่อไตส่วนต่างๆ



1. Renal corpuscle ประกอบด้วย

- Glomerulus คือ กลุ่มของเส้นเลือดฝอย (capillaries) ที่มารวมกันเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่กรองพลาสมาให้เข้ามาในท่อไต

- Bowman's capsule มีลักษณะเป็นถุงหุ้มรอบ glomerulus ส่วนนี้จัดเป็นส่วนต้นของท่อไต



2. ท่อไต (Tubule) แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ดังนี้

- ท่อไตส่วนต้น (proximal tubule) ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 2ส่วน คือ

1) convoluted portion มีลักษณะโค้งงอ

2) straight portion มีลักษณะตรง

- ท่อไตที่มีลักษณะเป็นรูปตัวยู (u-shape) หรือ (Loop of Henle) ประกอบด้วย

1) ท่อตัวยูขาลง (descending limb)

2) ท่อตัวยูขาขึ้น (ascending limb) ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน

ก. thin ascending limb

ข. thick ascending limb

- ท่อไตส่วนปลาย (distal tule)

- ท่อไตรวม (collecting duct) นับเป็นส่วนสุดท้ายของ nephron ทำหน้าที่เก็บรวบรวมน้ำปัสสาวะจาก ท่อไตส่วนปลาย

ของหลายเนฟรอน แล้วส่งต่อไปยัง pelvis เพื่อขับออกไปทาง ureter อีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ เนฟรอนยังแบ่งออกได้เป็น 2

พวกใหญ่ๆ ตามความแตกต่างในการเรียงตัวในเนื้อไต และตามความยาวของท่อไต



1) Superficial หรือ (cortical) nephron มีอยู่ ประมาณ 85% ของเนฟรอนทั้งหมด มี glomerulusเรียงตัวอยู่ในชั้นของ

cortex เนฟรอนชนิดนี้มีีloop of Henle ค่อนข้างสั้น เรียงตัวอยู่ใน medulla ขั้นนอกเท่านั้น



2) Juxtamedullary nephron มีอยู่ประมาณ 15% ของเนฟรอนทั้งหมด glomerulusของเนฟรอน ชนิดนี้เรียงตัวอยู่บริเวณ

cortex ชั้นในที่ติดต่อกับ medulla มี glomerulus ที่ใหญ่กว่า และ loop of Henle ที่ยาวกว่า superficial nephron

นอกจากนั้น ยังมีเส้นเลือดรูปตัวยูขนานไปกับ loop of Henle เรียกว่า " vasa recta " จากโครงสร้างและการเรียงตัวของ

เนฟรอนชนิดหลังนี้ ซึ่งมี loop of Henle ยาว รวมทั้งมีเส้นเลือด vasa recta ทำให้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิด

countercurrent อันเป็นกลไกที่ไตใช้ในการทำให้ปัสสาวะเข้มข้น





ที่มาภาพ : http://www.mhhe.com/biosci/ap/dynamichuman2/content/gifs/0176.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น